หลักเมือง นครศรีธรรมราช

 | หน้าหลัก | จตุคามรามเทพ | ตำนานพระบรมธาตุศิริธัมมราช | ประวัติและการสร้างศาลหลักเมืองนครศรี | พระผงสุริยัน–จันทรา และดวงตราพญาราหุ |
| ดวงฤกษ์พิธีเททองหล่อพระบูชา 5 เศียร | คณะกรรมการศิษยานุศิษย์ | ติดต่อ |

 

เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุ
วิหารพระม้า
วัตถุมงคล ที่ระลึก
พระราหูคืออะไร
พระพุทธสิงหิงค์ปฎิมา
พระหลักเมืองเนื้อโลหะ
ความเป็นมาพระพังพระกาฬ
จอมนาคราชพังพระกาฬ
ความมหัศจรรย์ของหลักเมือง

จากใจผู้จัดทำ
ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
พระเครื่องพระสะสม

คณะกรรมการดำเนินงานสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช มีมติมอบหมายให้
พลตำรวจตรีขุนพันธ์รักษ์ราชเดช เป็นประธานจัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกในการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2530 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ

การจัดพิธีพุทธาภิเษกและประจุพลังฤทธิ์ไสยศาสตร์
มีการจัดพิธีพุทธภิเษก 1 ครั้ง ณ ศาลหลักเมือง โดยนิมนต์เกจิอาจารย์พระเถระผู้สืบทอดพุทธาคม สายสำนักวัดเขาอ้อ พัทลุงจำนวน 4 รูป คือ
พระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา
พระครูศิริวัฒนาการ (ศรีเงิน) รองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา
พระครูพิพิธวรกิจ ( คล้อย ) เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง
พระครูอดุลย์ธรรมกิตต์ ( กลั่น ) เจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ

นิมนต์พรเถระยอดเกจิอาจารย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 รูป คือ
หลวงปู่คลิ้ง เจ้าอาวาสวัดถลุงทอง
หลวงปู่จันทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งเฟื้อ
พระครูเรวัตศีลคุณ ( สังข์ ) เจ้าอาวาสวัดดอนตรอ
หลวงพ่อมุ่ย เจ้าอาวาสวัดป่าระกำเหนือ

ทำพิธีบวงสรวงขอประจุพลังอิทธิฤทธิ์จากทวยเทพบนยอดเขาหลวง
คณะกรรมการสร้างวัตถุมงคลทั้งหลาย ไปทำพิธีขอประจุพลังอิทธิฤทธิ์จาก มหาองค์จักรพรรดิ ราชันดำจตุคามรามเทพ และ หมู่ทวยเทพ ที่สิ่งสถิตอยู่ ณ ยอดเขาหลวง กระทำพิธีโดยคณะพราหมณ์จากนครศรีธรรราชเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน

ทำพิธีบวงสรวงของประจุพลังอิทธิฤทธิ์จากมหาเทพ จ้าวแห่งมหาสมุทร
คณะกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคล นำวัตถุมงคลทั้งหมดลงเรือไปนทำพิธีขอประจุพลังอิทธิฤทธิ์จากองค์มหาเทพ และบริวาร ณ ใจกลางมหาสมุทร ห่างจากฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 20 กิโลเมตร ทำพิธีโดย พลตำรวจตรีขุนพันธ์รักษ์ราชเดช และคณะพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช 1 วัน 1 คืน

ท่านพลตำรวจตรีขุนพันธ์รักษ์ราชเดช กล่าวว่า วัตถุมงคลที่ระลึกศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช คือ วัตถุมงคลที่เป็นสุดยอดของความเข้มขลัง มีความศักดิ์สิทธิที่ไม่เคยสร้างสิ่งใด ๆ ได้เหนือไปกว่านี้แล้ว เป็นการประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบได้ประจาตุกายสิทธิ์ทุกชนิดที่ท่านมีอยู่ เช่น เหล็กไหล เหล็กหลบ เหล็กย้อย ธาตุอรหันต์ คนธรรม์ เขี้ยวแก้ว คตต่าง ๆ ที่เป็นธาตุกายสิทธิ์ สะสมไว้ตั้งแต่สมัยหนุ่มรวบรวมนำลงไปผสมในวัตถุมงคลรุ่นนี้จนหมดสิ้น วิชาความรู้ต่างๆ ที่ร่ำเรียนมาในโอกาสดำเนินการครั้งนี้ ทำตามความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ทุกอย่าง ขอรับรองว่าคงหาวัตถุมงคลใดเทียบเทียมได้ยาก ใครมีโอกาสได้รับก็ขอให้เก็บไว้ และ ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานคุ้มครองวงศ์ตระกูลให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปเถิด
ดังที่ทราบแล้วว่าในกระบวนการสร้าง หลักเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีพิธีกรรมต่างกรรม ต่างวาระหลายครั้ง ในทำนองเดียวกันได้มีการทำวัตถุมงคลออกแจกจ่ายและให้เช่าบูชาหลายชนิด ซึ่งล้วนแต่ผ่านการทำพิธีผ่านร่างประทับทรงทั้งสิ้น เท่าที่มีผู้จดจำได้ดังนี้

1. เศียรองค์จตุคามรามเทพ หรือ เทวดารักษาเมือง เป็นวัตถุมงคลชิ้นแรกที่ทำออกแจกจ่าย เป็นการจำลองเศียรจากบานประตูไม้จำหลัก ตรงบันไดทางขึ้นลานประทักษิณองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ขนาดเกือบเท่าองค์จริง ได้รับคำอธิบายว่าเป็นร่างแปลงธรรมของ องค์จตุคามรามเทพ ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาเมือง สิบสองนักษัตร หรือ เป็นเทาวดารักษาเมืองนั่นเอง
2. ผ้ายันต์ ใหญ่ 108 ผืน ผ้ายันต์เล็ก 3,000 ผืน กระทำในพิธีเทพชุมนุมตัดชัย เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2529
3. ธง และ ผ้ายันต์ มีหลายรุ่น หลายสี หลายขนาด ผ้ายันต์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นรูปดวงตราวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ
4. ขี้ผึ้งศรีวิชัย เป็นขี้ผึ้งทำด้วยมวลสารและกรรมวิธีเฉพาะของศรีวิชัย บรรจุในตลับถมแบบนครศรีธรรมราชโดยแท้ ใช้เป็นวัตถุมงคลสีริมฝีปากก่อนออกไปเจรจาความใด ๆ
5. พระผงหลักเมือง ทำจากผงไม้ตะเคียนทอง จากการแกะสลัก หลักเมือง ผสมมวลสารต่าง ๆ อีกรวม 12 ชนิด ลักษณะ เป็นรูปกลมแบบ มีสองขนาดคือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว และอีกขนาดหนึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ทั้งสองขนาดหนาประมาณ หนึ่งหุนครึ่ง มีสี่แบบ คือ แบบตั้งฟ้าตั้งดิน แบบประทานพรแบบนั้งเมือง และ พุทธเมตตา มีสามสีคือ สีน้ำตาล สีดำ และ สีขาว ด้านหน้าเป็นรูปวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ ด้านหลังเป็นยันต์ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เขียนละเอียดประณีตมาก
6. พระผงพุทธสิหิงค์ เป็นพระผงที่มีมวลสาร และสีเหมือนพระผงหลักเมืองทุกประการ แต่เป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นพระพุทธสิหิงค์ ด้านหลังเป็นรูปยันตร์
7. เหรียญพังพระกาฬ เป็นเหรียญกลมขนาด 3 เซนติเมตร เนื้อ นวะโลหะ ด้านหนาเป็นรูปพระปิดตาพังพระกาฬ ด้านหลังเป็นวัฏจักรสิบสองนักษัตร รายล้อมด้วยราหูแปดทิศ ลวดลายละเอียด ประณีต งดงามมาก
8. เหรียญโลหะทองแดง เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ทำขึ้นจำนวนมาก มีหลายแบบ
9. สติ๊กเกอร์รูปราหูอมจันทร์ อันเป็นดวงตราประจำองค์ จตุคามรามเทพ มีหลายขนาดนิยมนำไปติดประดับที่รถยนต์ หรือ ตามอาคารบ้านเรือน
10. วัตถุมงคลที่ระลึกในพิธีการ เช่น พิธีไหว้ครู ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพฤหัสแรกของเดือนพฤษภาคมของแจกอาจมีผ้ายันต์บ้าง เหรียญบ้าง
วัตถุมงคลของหลักเมืองนครศรีธรรมราช เหล่านี้ ทุกชนิดจะทำเพียงครั้งเดียว ไม่มีการทำเพิ่มในภยหลัง โดยเฉพาะเหรียญต่าง ๆ เมื่อทำแล้วจะทุบพิมพ์ และฝังดินที่ฐานราก


งื่อนไขการใช้และคำประกาศของเว็บไซต์หลักเมือง๓๐.คอม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 : ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไขรูป หรือ ข้อความใดๆ ไปใช้ ก่อนได้รับอนุญาต
สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ โดย [นายประยงค์ - นางนวลจันทร์ เชาวิลตถวิล]